Asynchronous Transfer Mode-ATM
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก    |  
 

               Asynchronous Transfer Mode (ATM) ประกอบด้วย
               1. ความหมายของ ATM
               2. รูปแบบการส่งข้อมูล ATM
               3. ประเภทของการเชื่อมต่อ
               4. อุปกรณ์ในเครือข่าย ATM
               5. สถาปัตยกรรมของเครือข่ายแบบ ATM
               6. โครงสร้างโพรโตคอลของ ATM
               7. การจำลองเครือข่าย LAN บนเครือข่าย ATM
               8. Local Area Network Emulation (LANE)
               9. ข้อเปรียบเทียบระหว่างเครือข่าย ATM, เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่าย LAN
               10. การประยุกต์ใช้งานเครือข่าย ATM
               11. ความต้องการของตลาด
               12. API กับ ATM
               13. จุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย ATM
               14. ทำไมต้องเป็น ATM?

----------------------------------------------------------------

ความหมายของ ATM

 (pic1) 200973_48569.jpg
--Model ATM-- 

         Asynchronous Transfer Mode หรือ ชื่อย่อ ATM เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service (QoS)
               จุดเด่นของเครือข่าย ATM ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล (Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ SeverATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header) ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ
               เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียข้อมูล ATM สวิตซ์จะใช้เทคนิคการปรับจราจร (Traffic Shapping) เพื่อกำหนดให้แพ็กเก็ตข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดที่วางไว้ เช่น ในกรณีที่สถานีส่งข้อมูลในอัตราที่สูงเกินกว่าลิงก์จะรองรับได้ ATM สวิตซ์ก็จะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์แพ็กเก็ตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และส่งต่อในปริมาณที่ลิงก์จะรองรับได้ หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น และอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้คือ การกำหนดนโยบายจราจร (Traffic Policing) คือ ถ้ามีเซลล์ข้อมูลที่ส่งเกินกว่าอัตราข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะถูกทำสัญลักษณ์ไว้เพื่อแสดงว่าเซลล์นี้มีลำดับความสำคัญต่ำ (Priority) เมื่อส่งผ่านเซลล์นี้ต่อไปก็อาจจะถูกละทิ้งหรือไม่ก็ได้นั้นขึ้นอยู่กับความคับคั่งของเครือข่าย

----------------------------------------------------------------

รูปแบบการส่งข้อมูล ATM
               รูปแบบการส่งข้อมูล ATM เป็นแบบ connectionoriented กล่าวคือจะมีการสร้าง connection จากต้นทางถึงปลายทาง กำหนดเส้นทางที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็ปิด connection เปรียบเทียบได้กับการโทรศัพท์ ก็จะต้องมีการเริ่มยกหู กดเบอร์ และเมื่อมีคนรับก็ต้องสวัสดีแนะนำตัวกันก่อน แล้วจึงเริ่มการสนทนา เมื่อสนทนาเสร็จแล้วก็มีการกล่าวคำลาและวางหูเป็นการปิด connection ต่างจาก IP Network ในแบบก่อน ซึ่งจะเป็นแค่การระบุจุดหมายปลายทางแล้วก็ส่งข้อมูลไปเท่านั้น การเลือกเส้นทางในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ระหว่างเส้นทางเดินว่าจะเลือกเส้นทางใด เหมือนกับการส่งจดหมายนั่นเอง เราเพียงระบุจ่าหน้าแล้วก็หย่อนลงตู้ไปเท่านั้น ผู้ส่งไม่สามารถทราบได้ว่าจะไปถึงผู้รับเส้นทางไหน และจะไปถึงเมื่อไร
              นอกจากนี้ ATM ยังมีลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ ATM จะมี QoS (Quality of Service) ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลในแต่ละ connection ได้ นั่นคือเมื่อมีการเริ่ม connection จะมีการตกลงระดับ QoS ที่ต้องการใช้ก่อน เพื่อให้เราสามารถส่งข้อมูลโดยได้รับคุณภาพของการส่งตามที่กำหนดไว้นั่นเอง
              เครือข่าย ATM เป็นระบบแบบสวิตซ์ กล่าวคือในเครือข่าย ATM นั้น แต่ละ connection สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ทันที ไม่ต้องรอให้อีกคนหนึ่งส่งเสร็จก่อนถ้าพิจารณาหาทางแยก อันหนึ่งที่มีรถวิ่งมาจากหลาย ๆ ทาง เราสามารถเปรียบเทียบเครือข่ายแบบสวิตซ์นี้ได้เสมือนเป็นทางต่างระดับ ซึ่งรถจากแต่ละทางสามารถวิ่งไปยังปลายทางของตนเองได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอกัน ซึ่งต่างจะระบบ share-bus ที่เปรียบเสมือนกับทางแยกธรรมดาซึ่งมีไฟแดงไฟเขียว รถที่แล่นมาจากแต่ละทางจะต้องรอ ให้ถึงสัญญาณไฟเขียวก่อน จึงจะวิ่งต่อไปได้ และไม่อาจวิ่งหลายทางพร้อม ๆ กันได้

การเชื่อมต่อเสมือน
                การเชื่อมต่อเสมือน (Virtual Connection) ที่สามารถสร้างในเครือข่าย ATM มี 2 ประเภท คือ
                - วงจรเสมือน (Virtual Circuit:VC) คือ การเชื่อมต่อเสมือน (Logical Connection) ระหว่างสองสถานีใดๆ ในเครือข่ายสวิตซ์ สถานีจะสื่อสารกันโดยการส่งผ่านเซลลข้อมูล โดยผ่านวงจรเสมือนนี้
            -
เส้นทางเสมือน (Virtual Path:VP) เป็นกลุ่มของวงจรเสมือน การจัดวงจรเสมือนให้เป็นกลุ่มนั้นจะมีผลดีต่อการจัดการวงจรเสมือนที่อาจมีหลายวงจรในเวลาเดียวกัน หรือจะเป็นการง่ายกว่าที่จัดการวงจรเสมือนเป็นกลุ่มแทนที่จะแยกกัน
                ในแต่ละเซลล์ของ ATM จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเสมือน หรือ VPI (Virtual Path Information) และข้อมูลเกี่ยวกับวงจรเสมือน หรือ VCI (Virtual Circuit Information) สวิตซ์จะใช้ข้อมูลนี้ในการส่งต่อเซลล์ไปยังอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อไป การที่สวิตซ์จะทำงานอย่างนี้ได้ในสวิตซ์จะต้องมีตารางการจัดเส้นทาง (Switch Table) ข้อมูลที่อยู่ในตารางจะเป็นการจับคู่กันระหว่าง VPI,VCI และอินเตอร์เฟสของสวิตซ์นั้นๆ

----------------------------------------------------------------

ประเภทของการเชื่อมต่อ
                - การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point-to-point Connection) 
            -
การเชื่อมต่อแบบจุดเดียวไปหลายจุด (Point-to-Multipoint Connection)
           
การรับส่งแบบ point-to-point และแบบ point-to-multipoint สามารถที่จะสร้างได้ 2 วิธิ คือ วงจรเสมือนแบบสวิตซ์ หรือ SVC (Switched Virtual Circuit) และแบบถาวร หรือ PVC (Permanent Virtual Circuit) ในเริ่มแรกนั้นจะใช้แบบ PVC ข้อดีก็คือ เส้นทางข้อมูลจะถูกจองไว้สำหรับการส่งข้อมูลของการเชื่อมต่อเท่านั้น ส่วน SVC จะแตกต่างจาก PVC คือการสงวน bandwidth ของเครือข่ายจะขึ้นอยู่กับอัตราข้อมูลที่ต้องการส่ง ถ้ามีการหยุดส่งข้อมูลระหว่างการเชื่อมต่อ bandwidth จะถูกปล่อยไปให้กับเครือข่าย ในขณะที่ PVC นั้นเมื่อส่งข้อมูลเสร็จ bandwidth ยังคงถูกจองไว้สำหรับการเชื่อมต่อนี้อยู่

----------------------------------------------------------------

อุปกรณ์ในเครือข่าย ATM
                อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย ATM นั้นมีเพียงสวิตซ์เท่านั้น ที่เรียกว่า ATM สวิตซ์นั่นเอง เครือข่าย ATM ใช้โทโปโลยีแบบ star โดยมี ATM สวิตซ์เป็นศูนย์กลาง สำหรับเครือข่าย ATM เน็ตเวิร์คการ์ดจะเรียกว่า UNI (User-to-Network Interface) ส่วนอินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อระหว่างสวิตซ์จะเรียกว่า NNI (Network-to-Network Interface)

----------------------------------------------------------------

สถาปัตยกรรมของเครือข่ายแบบ ATM
                 โครงสร้างโพรโทคอลของ ATM จะแตกต่างจากโครงสร้างโพรโทคอลประเภทอื่น คือ โดยทั่วไปโพรโทคอลจะแบ่งเป็นเลเยอร์ ซึ่งเป็นแบบ 2 มิติเท่านั้น แต่โพรโทคอลของ ATM จะเป็นแบบ 3 มิติ แต่ละมิติจะเรียกว่า "เพลน (Plane)" โดยแต่ละเพลนจะเป็นชุดโพรโทคอลที่แยกกัน ประกอบด้วย 3 เพลน ดังนี้
                 -
Control Plane 
             -
User Plane 
             - Management Plane
             ATM นั้นจะทำงานในเลเยอร์ที่ 1 และ 2 ของ OSI MODEL ส่วนโพรโทคอลที่อยู่เหนือขึ้นไปจะเป็นโพรโทคอลมาตรฐานทั่ว ๆ ไป สำหรับโพรโทคอล ATM จะแบ่งเป็นเลเยอร์บน และเลเยอร์ล่าง ซึ่งเลเยอร์บนจะมีในส่วนของ User Plane และ Control Plane , User Plane จะรับผิดชอบในการให้บริการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีส่งและสถานีรับ ส่วน Control Plane จะรับผิดชอบเกี่ยวกับสัญญาณ (Signal)

----------------------------------------------------------------

โครงสร้างโพโตคอลของ ATM
1.
Physical Layer
                 ในชั้นฟิสิคอลของชุดโพรโทคอล ATM จะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้
             -
Transmission Convergence (TC)
             -
Physical Medium (PMD)
                 ในชั้น TC จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูล เช่น ถ้าเป็นการส่งข้อมูลชั้นนี้ก็จะรับเซลล์ข้อมูลจาก ATM เลเยอร์ แล้วคำนวณค่า Checksum เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดแล้วส่งข้อมูลทีละบิตไปบนสื่อกลาง ถ้าเป็นการรับข้อมูลชั้นนี้ก็จะทำงานในทางตรงกันข้ามกับการส่งข้อมูล ส่วนในชั้น PM ก็จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมสัญญาณข้อมูล การซิงโครไนซ์ และไทม์มิ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสายสัญญาณที่ใช้

2.ATM Adaptation Layer (AAL)
                 ดังรูป  ในชั้น Data Link ของ ATM นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 เพลน คือ User Plane และ Control Plane ทั้ง 2 เพลนจะอยู่บนชั้นย่อย ATM เลเยอร์ ในส่วน User Plane นั้นจะมีชั้นย่อยที่ชื่อ AAL (ATM Adaption Layer) ส่วนใน Control Plane จะมีสองชั้นย่อย คือ CS(Convergence Sublayer) และ SAR (Segmentation and Reassembly)
                โพรโทคอลในชั้นย่อย CS จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างโพรโทคอลที่สูงกว่า เช่น TCP/IP หรือ IPX/SPX กับโพรโทคอลในชั้นย่อย AAL ส่วนโพรโทคอลในชั้น SAR จะทำการจัดแบ่งข้อมูลให้มีขนาดที่สามารถใส่ในเซลล์หนึ่งได้ ซึ่งข้อมูลจะมีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 48 ไบต์ ในแต่ละเซลล์ข้อมูลแล้วส่งผ่านไปยังชั้น AAL เลเยอร์ต่อไป หน้าที่ของ AAL ก็คือจะนำข้อมูลจากชั้น SAR ที่มีขนาด 48 ไบต์ แล้วทำให้อยู่ในฟอร์แมตก่อนที่จะเป็นเซลล์ แล้วส่งต่อไปยังชั้น ATM เลเยอร์ ซึ่งในชั้นนี้ก็จะนำข้อมูลส่วนหัวที่มีขนาด 5 ไบต์ ทำให้ได้เซลล์ข้อมูลที่มีขนาด 53 ไบต์เมื่อรวมทั้งเฮดเดอร์ และเพโหลดเข้าด้วยกัน

3.ATM Layer
               โพรโทคอลในเลเยอร์นี้จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างการเชื่อมต่อเสมือน หรือ VC(Virtual Connections) แล้วทำการส่งเซลล์ข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อ ATM เลเยอร์จะเป็นหนึ่งในชั้นย่อยและทำงานเหมือนโพรโทคอลในชั้นดาต้าลิงก์ของแบบอ้างอิง OSI หน้าที่ของโพรโทคอลในชั้นนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สถานีรับส่ง (End Station) และสวิตซ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
               - End Station : การทำงานของ ATM เลเยอร์ในคอมพิวเตอร์ที่รับหรือส่งข้อมูลจะทำหน้าที่ คือ สถานีส่งจะต้องทำการส่งสัญญาณให้สถานีรับทราบว่ามีข้อมูลที่ต้องการส่ง และทำการเจรจาเพื่อสร้างวงจรเสมือน (Virtual Circuit) ระหว่างสองสถานี
               - Switch : หน้าที่ของ ATM เลเยอร์ในสวิตซ์คือ เมื่อได้รับข้อมูลจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งแล้วจะทำการอ่านข้อมูลส่วนหัวที่เป็น VPI/VCI (Virtual Path Identifier) แล้วทำการเปรียบเทียบกับตารางข้อมูล VPI/VCI ที่เก็บไว้ในตัวสวิตซ์เอง ซึ่งถ้ามีข้อมูลอยู่ในตารางก็สามารถส่งเซลล์ข้อมูลต่อไป แต่ถ้าไม่มีก็ต้องทำการค้นหาว่าสถานีปลายทางอยู่ที่พอร์ตใด แล้วทำการบันทึกข้อมูลใหม่ลงในตารางนี้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับลำดับการรับส่งเซลล์ถ้ามีการรับส่งในหลายพอร์ต

----------------------------------------------------------------

การจำลองเครือข่าย LAN บนเครือข่าย ATM
                เนื่องจ่ายโพรโตคอลพื้นฐานของเครือข่าย ATM ใช้โปรโตคอล ATM ไม่ใช่ โปรโตคอล IP จึงจำเป็นต้องทำการจำลองเครือข่าย IP ขึ้นบนเครือข่าย ATM ที่มีอยู่เพื่อทำให้สามารใช้แอปพลิเคชั่นของ เครือข่าย IP ได้ วิธีการที่ใช้กันแพร่หลายในการใช้งาน IP บนเครือข่าย ATM มี อยู่ 2 วิธี ได้แก่ วิธี LAN Emulation และ IP over ATM
                4.1 การทำ LAN Emulation
            LAN Emulation (LANE) คือการจำลองระบบเครือข่าย LAN ได้แก่ Ethernet หรือ Token Ring ซึ่งเป็นเครื่อข่ายแบบ Brodacast Network โดย LANE จะเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ ATM-based internetworking ซึ่งจะทำให้เครื่อง host แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกันโดยใช้ ATM-connection สามารถสร้าง MAC-connection ขึ้นมา เพื่อให้สามารถใช้โพรโตคอลและแอปพลิเคชั่น ของเครือข่าย LAN เช่น Novell Netware, Microsoft windows, DECnet, TCP/IP, MacTCP หรือ Appletalk ได้บนเครือข่าย ATM โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวโปรแกรมแอปพลิเคชั่นที่มีอยู่เดิมเหล่านั้น แต่อย่างใด
               การทำ LANE จะให้บริการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
               - การทำ data encapsulation ให้กับข้อมูลและการส่งข้อมูล
               - address resolution
               - การจัดการเกี่ยวกับ multicast group
               ส่วนประกอบที่สำคัญของ LAN Emulation มีดังต่อไปนี้
            1. LAN Emulation Client (LEC) ซึ่งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัว (โฮสต์ แต่ละตัว) มีหน้าที่ในการแปลง ข้อมูลระหว่าง LAN และ ATM พร้อมกับรับส่งข้อมูลต่างๆ ระหว่าง LES, LECS, BUS และ LEC ตัวอื่นๆ
            2. LAN Emulation Server (LES) มีหน้าที่ในการเก็บตารางดัชนีระหว่าง MAC Address และ ATM Address และทำหน้าที่ให้บริการตอบคำถามในการแปลง MAC Address เป็น ATM Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ LEC ต้นทางต้องการติดต่อด้วย
            3. Broadcast and Unknown Server (BUS) มีหน้าที่ในการรับและกระจายข้อมูลแบบBrodacast และ Multicast packet ซึ่งมีความจำเป็นในการทำงานของ LAN ในปัจจุบัน
            4. LAN Emulation Configuration Sever (LECS) มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล Configuration ของ LAN Emulation และแจกจ่าย ATM Address ของ LES ให้แก่ LEC ที่ขอในขณะเริ่มต้นทำงาน
               วิธีการทำ LAN Emulation จะใช้หลักการของ MAC layer เพื่อที่จะจำลองระบบเครือข่าย IEEE 802 หรือเครือข่าย LAN ที่มีอยู่เดิมได้แก่ Ethernet หรือ Token Ring โดยที่โพรโตคอลใน layer ที่สูงกว่า Mac layer เช่น IP หรือ IPX จะไม่สามารถทราบได้ว่าระบบนี้เป็น LAN Emulation หรือ LAN IEEE 802 LANE จะมีกระบวนการแปล MAC address ให้เป็น ATM Address โดยใช้ Address Resolution Service (ARS) ซึ่งกระทำโดย LES (LAN Emulation Server) และ จะทำการสร้างเส้นทางเชื่อมต่อแบบ point-to-point โดยใช้ Switched Virtual Circuit (SVC) connection ไปยัง server และ client ตัวอื่นๆ ของ LANE
            4.2 การทำ IP over ATM
               เนื่องจากลักษณะโครงสร้างการทำงานของ ATM เป็นแบบ connection-oriented และแบบ unicast ทำให้การทำงานแบบ broadcast ซึ่งเป็นการทำงานของระบบ LAN ไม่สามารถกระทำได้บนเครือข่าย ATM ดังนั้นจึงได้มีการคิดวิธีการ IP over ATM หรือ Classical IP and ARP over ATM ขึ้นมาเพื่อช่วย แก้ปัญหานี้
         การทำ IP over ATM เป็นมาตรฐานในการส่งผ่านและเข้ารหัสข้อมูลของ IP Network ที่มีลักษณะ การทำงานแบบ connectionless ให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่าย ATM โดยอาศัยการเชื่อมต่อ แบบ ATM adaptation Layer (AAL)5 และการกำหนดการให้บริการแปลง IP Address ไปเป็น ATM Address วิธีนี้จะทำการแทนที่ส่วน data link layer ของ protocol stck ซึ่งเป็นหน้าที่ของ MAC address ด้วย ATM Address ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นของ ATM ตัวอย่างเช่น ARP repuest ซึ่งแต่เดิม ในเครือข่าย LAN IEEE 802 จะทำการขอ MAC Address ของเครื่องปลายทาง ในเครือข่าย IP over ATM จะขอ ATM Address ของเครื่องปลายทางแทน เครื่องที่เป็น ARP host ก็จะทำการ map IP Address ไปยัง ATM Address แทนที่จะ map IP Address ไปยัง MAC Address ในการนี้ จะต้องมีเครื่องแม่ข่ายที่เรียกว่า IP-ATM-ARP server ทำหน้าที่เก็บตารางดัชนีทีจะช่วย map IP Address ไปยัง ATM Address และเมื่อมีโฮสต์ตัวใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบ จะต้องแจ้งให้ IP-ATM-ARP service ทราบเพื่อที่จะเพิ่มข้อมูลลงในตารางดัชนี
            4.3 ข้อเปรียบเทียบระหว่างวิธีการทำ LAN Emulation และ IP over ATM
                ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างการทำ LAN Emulation และการทำ IP over ATM ก็คือ การทำ LAN Emulation จะช่วยให้สามารถใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ของระบบ LAN IEEE 802 ได้โดยไม่ต้องมีการดัดแปลงตัวแอปพลิเคชั่นนั้นแต่อย่างไ แอปพลิเคฃั่นเหล่านั้นเช่น IP หรือ IPX เป็นต้น ในขณะที่การทำ IP over ATM นั้น เครือข่าย ATM จะสามารถใช้งานได้เฉพาะ IP เท่านั้น วิธีการ LAN Emulation จะรวมหลักการของเครือข่าย LAN IEEE 802 ซึ่งเป็น boastcast เข้าในเครือข่าย ATM ส่วนวิธีการ IP over ATM จะช่วยสนับสนุนการใช้งาน ATM ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ปกติที่ใช้ระบบ LAN ได้ ข้อดีของการใช้วิธี IP over ATM ก็คือทำให้ data link layer สามารถแปล ข้อมูลการเชื่อมต่อจากข้อมูลเชื่อมต่อในแบบ IP ซึ่งเป็นแบบ connectionless ให้เป็นการเชื่อมต่อ ในแบบของ ATM ซึ่งเป็นแบบ connection-oriented ได้ ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากระบบ ATM ซึ่งเป็นการติดต่อแบบ point-to-point ได้ นอกจากนี้การทำ IP over ATM ยังช่วยลดขนาดของ overhead ซึ่งเป็นที่เก็บ broadcast address resolution ทำให้ช่วยลดเวลาหน่วง (delay) ในการส่งแพ็คเก็ตเริ่มต้น (initial packet) ได้ การจะเลือกใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ในกรณีที่ต้องการใช้งาน ATM กับระบบที่มีอยู่เดิมนั้น วิธีการ IP over ATM เป็นวิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง ในกรณีที่ต้องการอัพเกรดระบบ LAN ที่มีอยู่เดิมให้มี backbone ที่มีความเร็วสูงขึ้น การเลือกใช้ LAN Emulation ก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าพิจารณาและอาจเปรียบเทียบกับ FDDI หรือ Fast Ethernet ในการเลือกใช้งานได้
            4.4 การเชื่อมต่อ (Connection Management)
                ไม่ว่าจะเป็นการทำ LAN Emulation หรือการทำ IP over ATM ล้วนแต่จำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อระหว่าง host แต่ละตัว ในการจัดการการเชื่อมต่อ (Connection Management) นั้นสามารทำได้ 2 วิธี คือ
                - วิธีแรกจะใช้ Permanent Virtual Circuits (PVC) ทำการเชื่อมต่อระหว่าง clients
                - วิธีที่สองจะใช้ Switched Virtual Circuits (SVC) ในการเชื่อมต่อ
                การใช้ SVC จำเป็นต้องมี signalling protocol เพื่อทำการสร้างตลอดจนลบเส้นทางเชื่อมต่อไป ยังโฮสต์ ที่แยกกันด้วย hop ในสวิตซ์ ATM คนละตัวกันจำเป็นต้องมีการส่งข้อความ (message) แจ้ง โดยโฮสต์ จะเริ่มต้นจากการออกข้อความที่เรียกว่า SETUP ไปยังสวิตซ์ ตัวแรก ข้อความ SETUP จะส่งพารามิเตอร์เกี่ยวกับ AAL และ QoS ระหว่างการจัดตั้งเส้นทางเชื่อมต่อนั้นเมื่อสวิตซ์ตอบรับแล้ว จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับ VCI/VPI กลับมายัง hop ที่อยู่ก่อนหน้านั้น โดยใช้ข้อความที่เรียกว่า Call Proceeding กระบวนการเช่นนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไปถึงปลายทาง ทางปลายทางจะส่งข้อความที่เรียกว่า Connect กลับมายังต้นทาง สำหรับการลบเส้นทางเชื่อมต่อ ก็ทำได้ในทำนองเดียวกันโดยใช้ข้อความที่เรียกว่า Release และ Release Complete วิธีการที่ใช้ PVC จะต้องสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างแต่ละโฮสต์ ตั้งแต่ตอนเพิ่ม host เข้ามา วิธีนี้จะช่วยลดขนาดของ overhead ในการจัดตั้งเส้นทางการเชื่อมต่อแต่อย่างไรก็ตาม วิธีการ PVC ไม่เหมาะที่จะใช้กับเครือข่ายที่มีโฮสต์ จำนวนมาก

----------------------------------------------------------------

Local Area Network Emulation (LANE)
                เนื่องจากกลไกการรับส่งข้อมูลของ ATM แตกต่างจากเครือข่าย LAN ประเภทอื่น เช่น Ethernet และ Token Ring ซึ่งเป็นเครือข่ายประเภทหนึ่งที่นิยมมากในปัจจุบัน ดังนั้นแอปพลิเคชันประเภทนี้จะใช้กับเครือข่าย ATM ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนา ATM ให้สามารถรองรับแอปพลิเคชันประเภทนี้ได้ โดยการเพิ่มอีกเลเยอร์หนึ่งขึ้นมาเรียกว่า LANE (Local Area Network Emulation) นั่นเอง ข้อแตกต่างระหว่าง ATM และ Ethernet หรือ Token Ring คือ
               - เครือข่าย ATM จะมีการเชื่อมต่อแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ดในขณะที่อีเธอร์เน็ตจะมีการเชื่อมต่อแบบคอมเน็กชันเลสส์
               - อีเธอร์เน็ตและโทเคนริงสามารถส่งข้อมูลแบบบรอดคาสต์ และแบบมัลติคาสท์ได้ เนื่องจากมีการแชร์สื่อกลาง
               - หมายเลข MAC ตามมาตรฐาน IEEE จะกำหนดโดยผู้ผลิตเน็ตเวิร์คการ์ด ส่วนในเครือข่าย ATM หมายเลขนี้จะกำหนดให้โดยอัตโนมัติ
              นี่เป็นปัญหาหลัก 3 ข้อที่ LANE ต้องทำหน้าที่เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย ATM เหมือนว่าเป็นเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตหรือโทเคนริง
              อินเตอร์เฟสที่มีฟังก์ชันของ LANE จะเรียกว่า "LUNI (LANE User-to-Network Interface)" ส่วนเครือข่ายที่ใช้ LANE จะเรียกว่า "ELAN (Emulated Local Area Network)" ส่วนไคลเอนท์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะเรียกว่า "LEC (LAN Emulation Client)" ที่อยู่ที่กำหนดให้แต่ละ LEC ก็จะเป็นหมายเลข MAC ที่กำหนดโดยผู้ผลิตเน็ตเวิร์คการ์ด
              ในแต่ละ ELAN จะต้องมีการบริการที่เรียกว่า LES (LAN Emulation Service) ซึ่งจะอยู่ในตัวสวิตซ์เองหรือไคลเอนท์ก็ได้ และต้องมีเซิร์ฟเวอร์ LECS (LAN Emulation Configuration Server) ที่ทำหน้าที่กำหนดค่าต่าง ๆ และเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บรอดคาสต์และจัดการเกี่ยวกับไคลเอนท์ที่ไม่ทราบ หรือ BUS (Broadcast and Unknown Server) นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อเสมือนระหว่างสถานีส่งและสถานีรับซึ่งจะเรียกว่า "VCC (Virtual Channel Connection)

----------------------------------------------------------------

ข้อเปรียบเทียบระหว่างเครือข่าย ATM, เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่าย LAN
              - เครือข่าย LAN
                เครือข่าย Local Area Network หรือเครือข่าย LAN มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบ connectionless ระบบ LAN ที่ใช้กันส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานของ IEEE 802 ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ประกอบด้วย Ethernet ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 10Mbps และ Token Ring ซึ่งมี bandwidth เท่ากับ 4 Mbps หรือ 16 Mbps มีโพรโตคอล IEEE 802 เป็นตัวกำหนด data link layer และ physical layer ใน OSI Reference Model โดยในส่วนของ data link layer จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วน MAC (Medium Access Control) และ LLC (Logical Link Control) ส่วน MAC layer จะเป็นตัวกำหนดการเข้าถึงข้อมูลการแบ่งใช้งาน (share) อุปกรณ์ร่วมกันและการเชื่อมต่อสื่อสารกันส่วน LLC layer จะช่วยในเรื่องการอินเทอร์เฟซระหว่างโปรโตคอลใน Network layer กับ โปรโตคอลต่าง ๆ ใน MAC layer หลักการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย LAN นั้นจะใช้ MAC address จะเป็นตัวกำหนดที่อยู่ต้นทางและ ปลายทางของเฟรม โดยในการกำหนด MAC address ของส่วนปลายทางนั้น เครื่องเซร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่ง broadcast packet ไปยังเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เพื่อถามถึง MAC address ของเครื่องปลายทางเมื่อเครื่อง ปลายทางแจ้ง MAC address ตอบเครื่องต้นทางกลับมาก็จะเป็นการเริ่มการติดต่อระหว่างเครื่องต้นทางและ ปลายทางตัว Address resolution ซึ่งใช้วิธีการของ broadcast packet และการส่งถ่ายข้อมูลแบบ fast connectionless ทำให้เครือข่าย LAN ใรปนะวิมธิภาพดีสำหรับรูปแบบ teaffic ที่ไม่แน่นอน (Randomly Spaced Traffic patterns) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ทรัพยากรร่วมกันเช่นนี้ทำให้เกิดข้อเสียคือ เครื่องลูกข่ายไม่สามารถได้รับการประกันคุณภาพการส่งว่าจะได้รับ bandwidth เท่าไร ในการส่งแต่ละครั้ง
- เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Networks) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครือข่าย LAN เพียงแต่ว่าเครือข่าย LAN ที่ใช้มักจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ Netware ที่ใช้มาตรฐานโพรโตคอล IPX แต่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้มาตรฐานโปรโตคอล TCP/IP เป็นโครงสร้างหลักของซอฟต์แวร์ต่าง ๆระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารกัน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการต่อเชื่อมโยงข้ามประเทศทั่วโลกต่างจากระบบ LAN ที่จะต่อเชื่อมเฉพาะในขอบเขตบริเวณหนึ่ง ๆ เช่น เพียงชั้นเดียวของอาคารหนึ่งหรือในเขตบริษัทหนึ่ง ๆ เท่านั้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าายที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้โพรโตคอล IP (Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้หลายสิบล้านคนและมีเครื่อง คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่โยงใยข้ามประเทศแทบทุกทวีปทั่วโลก IP เป็นโพรโตคอลบนชั้น Network Layer ที่จะส่งข้อมูลระหว่างจุดต้นทางและปลายทางแบบ Connectionless ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบที่ไม่มีการรับประกัน การส่งแพ็คเก็ตระหว่างต้นทางและปลายทาง ในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนั้น IP datagram ที่ถูกส่งไปจาก host หนึ่งสามารถที่จะไปถึง host ปลายทางเดียวกันได้โดยใช้เส้นทางต่างกัน เส้นทางที่ IP datagram เดินทางไป นั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายและจะถูกควบคุมโดย router ซึ่งจะเป็นตัวเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดให้ datagram เดินทางไปโดยวิเคราะห์จากสถานภาพของ link ที่เชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันว่ามีระดับ congestion มากน้อยเพียงใด จากความไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพทำงานของ IP นี้เองทำให้ IP เป็นโพรโตคอลที่เป็นมาตรฐาน ทั่วโลกและใช้กันแพร่หลายมาก มีแอปพลิเคชั่นสนับสนุนอยู่มากมายที่สนับสนุนการทำงานของ IP เช่น Gopher, www (world-wide-web ใช้ http Protoclo), ftp (File Transfer Protocol) และ SMTP (Simple Mail Transfer Protoclo)
- เครือข่าย ATM จะช่วยให้ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นมากเนื่องจากมีความเร็วในการสวิตซ์ข้อมูลสูงมากนั่น เอง ลักษณะของเครือข่าย ATM ก็เป็นสายไฟเบอร์ (Fiber Optic Cable) หรือสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 155 Mbps ขึ้นไป และจะมีอุปกรณ์หลายทาง ซึ่งอาจเป็น PC ซึ่งมี Ethernet Card อีกทีนั่นเอง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ทางการสื่อสาร เช่น ตู้สายโทรศัพท์ PAPX ซึ่งมี ATM Interface หรือระบบ Video Conference ก็ได้ กล่าวคืออุปกรณ์สือสารและคอมพิวเตอร์เกือบทุกอย่าง สามารถเชื่อมต่อกับ ATM Interface ที่ตรงตามมาตรฐานนั่นเอง แต่เนื่องจาก ATM ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อเข้ากับสวิตซ์ ATM และส่งข้อมูลโดยใช้ ATM โดยตรงเลยนั้นจึงยังมีไม่มากนักและมีราคาแพงอยู่ จึงได้มีการคิดค้นระบบ IP over ATM และ LAN Emulation ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ บนเครื่องข่ายเดิมซึ่งใช้แอปพลิเคชั่น บน IP และ Ethernet ธรรมดาบนเครือข่าย ATM ได้ หรือเป็นการจำลองเครือข่าย IP และ Ethernet ขึ้นบนเครือข่าย ATM นั่นเอง

 ----------------------------------------------------------------

การประยุกต์ใช้งานเครือข่าย ATM
5.1 Video on Demand (VOD) (ระบบวีดีโอตามสั่ง)
VDO เป็นระบบที่ประกอบด้วย Video Server, เครือข่ายสื่อสาร และ Video Client Video Server มักเป็นเครื่องคอมพิมเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีที่เก็บข้อมูล (disk) ที่มีความจุและความเร็วสูง เพื่อที่จะเก็บข้อมูลวิดีโอซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว มีส่วนเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูลออกทางเครือข่ายสื่อสารด้วยความเร็วมากพอตามปกติ แล้วข้อมูลวิดีโอมักจะมีขนาดใหญ่ และต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลมาก (1.5 Mbps) สำหรับคุณภาพ MPEG- 1 หรือระดับ VideoVHS และ 6-8 Mbps สำหรับคุณภาพ MPEH-2 หรือระดับ Laser Disc) เครื่องVideo Server จึงต้องมีประสิทธิภาพ เพียงพอที่จะรองรับและแจกจ่ายข้อมูลวิดีโอเหล่านี้ไปยัง Video Client ได้ Video Client เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่สามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับจาก Video Server ให้เป็นสัญญาณภาพและแสดงผลขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ จอโทรทัศน์ได้ กรณีของ Video on Demand ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกดูรายการที่ตนเองสนใจเวลาใดก็ได้ ไม่ขึ้นกับผู้อื่นและไม่ต้องรอตารางเวลา ดังนั้นจึงมีเครือข่ายสื่อสารที่จะมารองรับการทำงานของระบบ Video on Demand จึงต้องมีความเร็วสูงมาก เช่น เครือข่าย ATM เป็นต้น
5.2 Video Teleconference (การประชุมทางไกล)
Video Teloconference หรือการประชุมทางไกลถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่มคน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดยผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฎอยู่บนจอโทรทัศน์ของตัวเองและภาพของ ตัวเองก็จะไปปรากฎยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างทางสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง และอุปกรณ์ Code ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัส สัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน ส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง และรมไปถึงการถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอ และลำโพงนั่นเองเส้นทาง สื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่าย ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกลคือสามารถ ให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็น ต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่งซึ่งจะประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรด้วย
5.3 Tele-Education (การศึกษาทางไกล)
Tele-Education หมายถึงการเรียนการสอนโดยที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่คนละสถานที่มีการใช้สื่อ ทางอิเล็คโทรนิคส์ เป็นตัวช่วยในการสอนทางไกล เช่น การเรียนการสอนผ่านระบบการประชุมทางไกล (Teleconference) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการทำ Video Teleconference คือ ผู้เรียน และ ผู้สอน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางภาพจากจอโทรทัศน์และเสียง ใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีส่งภาพ และเสียงแทนที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นจริง ๆ นักเรียนในห้องเรียนที่ห่างไกลไม่เพียงแต่ได้ ยินเสียงเท่านั้น แต่สามารถเห็นอากัปกิริยาของผู้สอน เช่น การแสดงออกที่หน้าตา การเคลื่อนไหวของ ริมฝีปาก ตลอดจนภาษาร่างกาย (Body Language) ซึ่งมีความสำคัญในบางวิชา เป็นต้น อีกเทคโนโลยี หนึ่งที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกลก็คือการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่ง ได้แก่ การศึกษาจากอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ขนาดมหาศาลเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาด มหิมาที่เก็บข้อมูลที่ทั้งมากและทันสมัย นอกจากนั้นยังสามารถมีระบบศึกษาเมื่อต้องการ ซึ่งใช้ระบบ เดียวกับระบบวิดิโอตามสั่ง (VOD) โดยการเลือกบทเรียนวิดิโอจากคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Video Server ได้ทำให้นักศึกษาสามารถทบทวนบทเรียนได้ทุกเวลาด้วยตนเองตามความต้องการ

ข้อดีของการศึกาาทางไกลคือทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาโดยเฉพาะในเขตชุมชนที่ห่างไกล ลดปัญหาการขาดแคลนครูอาจารย์ผุ้เชี่ยวชาญในบางสาขาวิชาอีกทั้งยังช่วยในให้มีคุณภาพและมาตรฐาน การเรียนการสอนที่ดีขึ้นด้วย
ปัจจัยทีเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพิจารณา
- ManuFacturers ในปัจจุบันมีผลิตทั่วโลกกว่า 20 ระบบเช่น ADC Telecom. General Data Comm หรือ GDC, Stratacom, Cisco, Lightstream NEC, Newbridge Network Inc., Nothern Telecom, Fore, Xylan เป็นต้น
- Switch Architecture ให้คำนึงถึงความสามารถของอุปกรณ์ว่าสามารถทำ non-blocking ให้หรือไม่
- Buffer Capacit\y ปริมาณบัฟเฟอรืที่สามารถรองรับได้สูงสุด ซึ่งจะเป็นที่บอกถึงขนาดของอุปกรณ์ด้วย
- Buffering Method วิธีการจัดการบัฟเฟอร์ เช่น Cisco, GDC, NEC ใช้อินพุต และเอาต์พุตในการจัดคิว
- Switching Delay จัดเป็นหน่วยไมโครวินาที ใครมีตัวเลขน้อยกว่าจะเหนือกว่านั่นเอง
- ATM Interface อินเตอร์เฟชที่ใช้ในการรับส่ง เช่น DS1/E1 (2Mbps), DS3/E3 (8Mbps),OC3/STM1 (155 Mbps),OC12/STM4 (622Mbps) เป็นต้น
- Maximum Number of Ports จำนวนพอร์ตที่สามารถขยายได้สูงสุดหรือพอร์ตต่อสล็อต
- AAL Support พิจารณาว่ามี Type ของเลเยอร์อะไรบ้าง เช่น AAL1, AAL3/4 และ AAL5
- Number of Quality of Service Classes ความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล
- PVC and SVC Support มีชื่อเต็มว่า Permanent Virtual Circuit และ Switching Virtual Circuit
- Point to Multipoint Support
- Traffic Control ความสามารถในการควบคุมการไหลเวียนของข้อมูล
- Congestion Control ความสามารถในการควบคุมความแออัดของข้อมูล
- Bridge ความสามารถในการเชื่อมและในแบบ Bridge บนเครือข่ายเอทีเอ็ม
- Virtual LAN Capacity ความสามารถในการทำ Virtual LAN โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในลักษณะ Workgroup
- Network Managerment การจัดเครือข่ายคือหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จะช่วยให้เราทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่
- Redundancy ความสามารถที่ออกแบบในรับรองในกรณีที่เกิดความผิดพลาดของอุปกรณ์ชั้นใดชั้นหนึ่ง อุปกรณ์ที่สำรองเอาไว้ก็จะสามารถทำงานแทนได้ทันทีแบบอัตโนมัติ
เปรียบเทียบเทคโนโลยีเอทีเอ็มกับเทคโนโลยีอื่น
นอกจากเทคโนโลยีเอทีเอ็มที่กำลังเป็นที่สนใจของพวกเราแล้วยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ในการสื่อสารข้อมูลที่น่า สนใจอีกไม่น้อย เช่น X.25, เฟรมรีเลย์ และ SMDS (เกี่ยวข้องกับ WAN : Wide Area Network) หรือ แม้แต่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (LAN) อย่างเช่น Fast Ethernet และ FDDI เราจะนำข้อมูลทางด้านเทคนิคมาเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยให้เห็นกันชัดๆ ก่อนที่เราจะไปเปรียบเทียบกันในรายละเอียด จะขอย้อนกลับมาทำความเข้าใจรากฐานที่มาของ เทคโนโลยีต่างๆ บน Data Communication เสียก่อน อันดับแรก เราทราบมากันแล้ว ประกอบไปด้วยรูปแบบการติดต่อสื่อสารกัน 3 รูปแบบด้วยกัน คือ Message Switching, Circuit Switching และ Packet Switching และแต่ละวิธีก็จะแตกแยกย่อยออกเป็นดังนี้
1. Message Switching ได้แก่ Telegraphy, Telex Teletype

2. Circuit Swithching ได้แก่ Analog, Sychronous และ Plesio Chronous ซื่งจะแยกย่อย ออกเป็น X.121, ISDN เป็นต้น

3. Packet Switching ไดแก่
Packet เช่น X.25, IP
Frame เช่น HDLC, FR
Cell เช่น SMDS, ATM
Message Switching ดูเหมือนว่าก็จะนับอายุตั้งแต่มีการคิดค้นกันขึ้นมาประมาณได้ว่าสามารถเรียก คุณภาพที่อายุยืนสักราวๆ 150 ปี เห็นจะได้ คือ สมัยที่มีการติดต่อสื่อสารกันดัวยโทรเลข โทรกราฟ ด้วยรหัสมอสนั้นเอง ต่อมาอีกประมาณ 100 ปี หรือราวๆ 50 ปี ถอยหลังกลับไปในอดีตCircuit Switching ได้รับการคิดค้นขึ้นมาใช้งาน เริ่มต้นด้วยการสื่อสารในระบบแอนะล็อก และแยกย่อยออกมาเป็นแบบระบบดิจิทัลก็มีต้อวอย่าง เช่น X.121 และ ISDN นั่นเองในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง Packet Switching ได้รับการคิดค้นขึ้นมาโดยมีการพัฒนารูปแบบมาตรฐานต่างๆ ที่สามารถแยกออกเป็น 3 รูปแบบคือ แพ็กเก็ตเฟรมและเซลล์ ความสามารถของระบบแบบ Packet Switching อย่าง X.25 และ IP นั้น ออกแบบมาให้สามารถใช้งาน ในระบบสื่อสัญญาณที่คุณภาพของสายสัญญาณต่ำก็ยังสามารถทำงานได้ หากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี ATM แล้ว จะพบว่าอุปกรณ์ปลายทางที่เป็นเทคโนโลยีแบบ ATM ต้องเลือกใช้คุณภาพของ Tranmission ที่มีความพร้อมมากกว่าจึงจะสามารถทำงานได้ แต่ประสิทธิภาพที่ได้รับ เช่น Bandwidth, ความเร็วต่างๆ จะเหนือกว่าหลายเท่าตัวนัก นอกจาก ATM (Asynchronous Transfer Mode) แล้วยังมี STM(Synchronous Transfer Mode) แล้ว ทั้ง 2 แบบนี้จะต้องกันอย่างไร แน่นอน คำถามนี้ต้องมีคำตอบ ประการแรกที่เห็นได้ชัดคือ ATM มีความสามารถเหนือเท่า STM ในแง่ของ ความสามารถในความยืดหยุ่น Efficiently, การกำหนดค่า CBR (Continuous Bit-Rate) หากพูดถึงในแง่เทคนิคของการส่งข้อมูลปัจจัยส่วนใหญ่ที่มักจะกล่าวถึงกันกันอยู่เสมอใน แพ็กเก็ตสวิตชิงคือการควบคุมการแออัดของข้อมูล (Ccongestion Ccontrol) การควบคุมการไหล ของข้อมูล (Flow Control) และ Protocol Functions ดังรูปที่ 8 รูปแบบการส่งข้อมูล การสลับสัญญาณในแต่ละโหมด เช่น Connection Oriented Network Service (CONS), Connectionless Network Service (CLNS) การควบคุมจราจรของข้อมูลบนสื่อสัญญาณ การเปรียบเทียบโพรโตคอลฟังก์ชัน เปรียบเทียบ FDDI, Fast - Ethernet กับ ATM FDDI มีชื่อเก็มว่า Fiber Distributed Data Interface ออกแบบมาให้ใช้เป็นโครงหลัก (Backbone) ในระบบสื่อสารข้อมูลที่ความเร็ว 100 Mbps โดยอาศัย Optic Fiber Cable เป็นสารสื่อสัญญาณ แต่ถ้าเลือกใช้สายทองแดงเป็นสารสื่อสัญญาณแทนแล้วอุปกรณ์นั้นจะใช้เทคโนโลยี ที่เรียกว่า CDDI (Copper Distributed Data Interface) ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเทคโนโลยีทั้งสองแบบนี้จะได้รับการเลือกใช้เป็นอันดับรองจากเทคโนโลยี ATM สำหรับผู้ใช้ที่มีความประสงค์ จะสร้างเครือข่ายประเภท Campus Network หรือไม่ก็ต้องการสร้างเป็น Backbone Network ในอาคารสูงๆ ก็ตาม Fast - Ethernet ทุคนยอมรับกันมาหลายปี แล้วว่า Ethernet เป็นราชาของระบบ LAN เป็นที่นิยมมากๆ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร

----------------------------------------------------------------

ความต้องการของตลาด
นับเวลาย้อนหลังไปในช่วงเวลาประมาณ 10 ปี เรารู้กันว่า X.25 เป็นเทคโนโลยีที่มีผู้นิยมใช้กันมากทั้ง ในแถบประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกาตอนเหนือ X.25 ถือว่าเป็นตัวเลือกยุคแรกๆ ของการสื่อสารข้อมูล ในระยะทางไกลๆ หรือ WAN ต่อมา เฟรมรีเลย์กลายเป็น ตัวเลือกที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งแต่มีข้อน่าสังเกต อยู่ว่าเทคโนโลยีนี้มีช่วยเวลาของ การเปิดตัวออกสู่ตลาดไม่นานนัก็มี SMDS และ ATM ตามมา หากใครที่ได้ติดตามและเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลจะทราบว่าในเอเชีย จะมีช่วงของการก้าวกระโดดของการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากว่า ช่วงเวลาที่เทคโลยีเฟรมรีเลย์ที่อุปกรณ์ ซึ่งผลิตออกมานั้น ผู้ใช้จะให้เวลากับตนเองในการศึกษาเปรียบเทียบเจ้า ATM ก็โผล่ออกมาเป็นตัวเลือก ที่น่าสนใจมากๆ เนื่องจากว่าหลายๆ หน่วยงานต้องคำนึงถึงเรื่อง การลงทุนและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ ในที่สุดก็เข้าสู่ยุคของ ATM โดยมีหน่วยงานน้อยมากที่จะเลือกใช้ เฟรมรีเลย์ ดังรูปที่ 10 ในแง่ของความสามารถหรืออัตราการส่งข้อมูลต้องยกให้ ATM เป็นที่ใหญ่เพื่อเทียบกับ SMDS, เฟรมรีเลย์ และ X.25 ดังรูปที่ 11
ทิศทางของเทคโนโลยีเอทีเอ็ม
โครงการทดสอบการสร้างเครือข่ายเอทีเอ็มครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในปี 1990 โดยมี NREN หรือ National Research and Education Network เป็นเจ้าของโครงการ พร้อมทั้งได้ผู้สนับสนุน ค่าใช้จ่ายจาก ARPA (United States Government's Advanced Research Project Agency) และ NSF (NAtional Science Foundation) เป็นผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ สถานที่ทดสอบการเชื่อมโยงเครือข่าย ATM การทำสอบในครั้งนั้นเลือกที่ความเร็ว 622 Mbps แล้วผลจากการทดสอบ ครั้งนันเป็นประสบการณ์ที่ได้ให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์สวิตชิง และกลายมาเป็น แนวทางในการพัฒนาและออกแบบมาจนถึงปัจจุบันซึ่งผลที่ได้จากการพยายามในการทดสอบครั้งนั้นด้วย ต่อมาในปี 1994 รัฐบาลสหรัฐฯ มีนโยบายจัดสร้างโคร้างสร้างเครือข่ายข้อมูลแห่งชาติ (National Information Infrastructure หรือ NII) เพื่อรองรับการทำงานในแบบมัลติมีเดียว การติดต่อสื่อสารแบบอินเตอร์แอกทีฟ และถือว่าเป็นการรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพสูงเพื่อผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการศึกษารวมกระทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสังคม โดยความร่วมมือจากสถาบัน 4 แห่งด้วยกันคือ National Science Foundation (NSF). Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA). The Department of Energy(DOE) และ National Aeronautics and Space Administration (NASA) ในยุโรปก็มีโครงการสร้างเครือข่าย ATM เหมือกันแต่เป็นโครงการที่เกิดขึ้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ตั้งแต่ปี 1987 โดย RACE (The Research for Advanced Communications in Europe) แต่ครั้งนั้นมีพันะมิตรร่วมลงขันกันทั้ง 26 ราย ได้แก่ ผู้ให้บริการเครือข่ายสื่อสารบริษัทยักษ์ใหญ่ และมหาวิทยาลัยอีกจำนวนหนึ่ง ได้มีการตั้งชื่อโครงการนั้นว่ RATT หรือ The RIO22 ATM Technology Testbed โครงการติดตั้งอยู่ที่บราซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โครงการต่อมามีชื่อว่า RACE Project 2061 สร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบร่วมกับเครือข่ายเฟรมรีเลย์ และ N-ISDN ที่มีอยู่เดิมว่าสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่ในเชิงของอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็ว 2 Mbps (E1) และ 140 Mpbs (E4) โดยผลการทดสอบออกมาเป็นที่น่าพอใจ ส่วนในเอซียบริษัทเอ็นทีทีหรือที่เรารู้จักกันในนามของ The Japanese Nippon Telephone and Telegrapth Corporation ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่นนั่นเอง ในครั้งนั้น NTT เลือกอุปกร์นั้นจากผู้ผลิต หลายรายมาพัฒนาเครือข่ายบรอดแบนด์เอทีเอ็มเพื่อจุดประสงค์ต้องการนำเครือข่ายที่สร้างขึ้นใหม่ นี้มาทดแทนโครงสร้างเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ และหวังว่าเครือข่าย ATM นี้สามารถรองรับการทำงานได้ ทั้งการสื่อสารด้วยภาพ เสียง วีดีโอ ในแบบมัลติมีเดียวแบบครบวงจร
ทำไมจึงเลือกใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็ม
มีเหตุผลผลายประการว่าด้วยเรื่องของประโยชน์เป็นหลักที่สามารถสรุปออกมาเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ประการแรกเครือข่ายที่สร้างด้วยอุปกรณ์เอทีเอ็มสวิตชิงจัดทำเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในแง่ของ ความเร็วและความสามารถทางด้านการจัดการเครือข่ายทั้ง Public และ Private ประการที่สอง สร้างเป็นเครือข่ายประเภท (Campus Backbone Network) เหมาะสำหรับ มหาวิทยาลัยหรือองค์กรที่ต้องการสร้าง Private Network ด้วยความเร็วสูงเพื่อเชื่อมดยงข้อมูล จากคอมพิวเตอร์อาคารต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดี ประการที่สาม เป็นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมล่าสุดที่มีผู้นิยมใช้กัน ประการที่สี่ เป็นนโยบายและแผนงานสร้างเครือข่าย Information Superhighway ในหลาย ๆ ประเทศ ประการที่ห้า มีความสามารถหลากหลายและหนือกว่าเทคโนโลยี (Data Communication ในอดีตที่ผ่านมา
ทำไมจึงเชื่อว่า ATM เป็นเทคโนโลยีรองรับอนาคต
เนื่องจากว่าประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลผ่านใยแก้วนำแสงของเอทีเอ็มสวิตชิงนั้นสามารถนำเทคโนโลยี บางอย่างที่มีอยู่เดิมนั้นเข้ามาผสมผสานกับทรัพยากรได้อีกทั้งยังสามารถรองรับงานทางด้านมัลติมีเดีย ซึ่งเข้าใจกันว่าจะเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จากการรวมของคำว่า ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ ทั้ง SDH, SONET และ ATM จัดว่าเป็นองค์ประกอบ สำคัญยิ่งในการพัฒนาเครือข่ายของอนาคตนั้นเอง
เครือข่ายมัลติโพโตคอล
- Collapsed Backbone เอทีเอ็มสวิตชิงได้รับการนำมาสร้างเป็นแผนหลักของเครือข่ายเพื่อให้เป็นทางด่วนข้อมูลของตึก หรือองค์กรโดยรองรับเครือข่าย LAN อย่าง Ethernet, Token Ring และอินเตอร์เฟชอื่น ๆ - Intergrated Access นอกจากข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะว่า ไปบนเพ็กเกตของเอทีเอ็มสวิตซ์แล้ว สัญญานเสียงและวีดีโอ ยังสามารถนำมารวมเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดิมได้อีกด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เสียง วีดีโอจะทำงานขอนเครือข่าย ATM ได้อย่างสบายโดยขึ้นอยู่กับอินเตอร์เฟช และอุปกรณ์ปลายทางที่จะต่อเข้ากับเครือข่ายนี้ - Virtual Private Networking มีความสามารถในการจัดการเคือข่ายแบบเสมือนได้เพราะว่าการเชื่อโยงเครือข่ายแบบ WAM จำเป็น ต้องนำเทคนิคแบบนี้เข้ามาช่ายจัดการ bandwidth และถือว่าความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่ง - High - Performance Internetworking มีความสามารถในการจัดการเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูงเท่าในแบบอื่น ๆ เช่น router หรืออุปกรณ์ประเภท FDDI ด้วยเหตุผลที่ว่ามีช่องทางที่กว้างใหญ่และประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลที่เร็วเท่าและมี ประสิทธิภาพมากกว่า - Protocol Internetworking โพโตคอลที่ทำงานบนเครือข่าย ATM สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เฟชของเฟรมรีเลย์ IP และ SMDS ได้ - High Performance Server Connections การเชื่อมต่อเข้าสู่โฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งที่ละเลยไปไม่ได้และคาดว่า ความเร็วที่จะเข้าและออกจากเซิร์ฟเวอร์จะได้รับการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย ATM ก่อนอุปกรณ์ที่ด้วยคาร์ด LAN ในไคลเอนต์ - ATM Workgroups อุปกรณ์คาร์ดอะแดปเตอร์ ATM จะเป็นอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่จะทำให้เซิร์เอวร์และไคลเอนต์ทำงาน อย่างยอดเยี่ยมในเครือข่ายพิเศษนี้ - Public Connectivty การเชื่อมดยงต่างกันระหว่างเครือข่ายจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอนและมาตรฐานต่าง ๆ จะถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้อุปกรณ์ที่ต่างยี่ห้อกันสามารถคุยกันได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด
สรุป
เทคโนโลยี ATM เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น ประโยชน์การจัดสร้างเครือข่ายนี้จำนวนมาก ๆ ทั่วโลก จะส่ง ผลให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันบนโลกของคอมพิวเตอร์ ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เมื่อวันนั้นมาถึง จำนวนเครือข่าย Private Network กว่าแสนเครือข่ายจะเชื่อมโยงต่อกันทั้งข้อมูล ข่าวสาร เสียง วีดีโอ ตลอดจนข้อมูลที่เรียกว่า มัลติมีเดีย ก็จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

----------------------------------------------------------------

API กับ ATM
มีสิ่งใดบ้างที่คุณต้องคำนึงถึง หากคุณจะเขียนโปรแกรมให้ใช้งานกับ ATM(Asynchronous Transfer Mode) โปรแกรมที่คุณเขียนขึ้นจะต้องสามารถรับมือกับข้อมูลที่มีเวลาเป็นปัจจัยสำคัญได้ สามารถส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิ้ลเดียวกันนี้ เพื่อส่งข้อมูลประเภทภาพและเสียงไปด้วยในเวลาเดียวกันได้ ปัญหาที่ตามมาก็คือโปรแกรมของคุณต้องสามารถระบุลำดับความสำคัญของข้อมูล หรือทราบกระทั่งแบนด์วิดธ์ ที่ต้องใช้เพื่อส่งข้อมูลนั้นๆ ในทางอุดมคติ API มาตรฐานทั่วไปนั้นน่าจะจัดการกับงานเหล่านี้ได้อยู่แล้ว โปรแกรมเมอร์จะมีหน้าที่เพียงแค่เขียนโปรแกรมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงด้วยเทคโนโลยีของ ATM ปัจจุบันบอกได้เลยว่าคุณยังห่างไกลอีกมาก ในสภาวะการณ์ปัจจุบันเรายังไม่สามารถพึ่งพา API ตัวใดตัวหนึ่งเป็นการเฉพาะได้เลย โปรแกรม Winsock 2.0 ที่กำลังพัฒนาจะออกสู่ตลาดเป็นเวอร์ชั่นได้พัฒนาให้ดียิ่งกว่าเวอร์ชันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยจะ ใส่ข้อคุณสมบัติเพิ่มเติมในส่วนของ ATM เป็นสาระสำคัญ LANE(LAN Emulation) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะใช้อินเทอร์เฟซในเลเยอร์ MAC (Media Access Control Layer) ตามมาตรฐาน IEEE-802 เพื่อให้โปรโตคอล IPX, NeBEUI และ TCP/IP ที่ไม่สามารทำงานกับ ATM สามารถรันบนระบบเน็ตเวิร์ก ที่ใช้ ATM ได้ ล่าสุดคือ IP ที่พัฒนาตามข้อกำหนดคุณสมบัติของ ATM สามารถประยุกต์ให้ TCP/IP ทำงาน บนเน็ตเวิร์ก ATM ได้แล้ว
ต่อมาหันไปสนใจกับเน็ตเวิร์กอะแดปเตอร์ของผู้ผลิตรายใดสักรายหนึ่งเป็นการเจาะจงสำหรับการ โค้ดโปรแกรมของคุณแต่อย่าลืมว่าผู้ผลิตแต่ละรายก็จะมีอินเทอร์เฟซที่เป็นแบบเฉพาะของตนเองซึ่งจะใช้กำหนด เกณฑ์ให้กับซอฟต์แวร์ของคุณ และในโลกที่เทคโนโลยีผันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ คุณจะแน่ใจอย่างไรว่าคุณ ได้เสี่ยงมาลัยเลือกคู่กับเจ้าบ่าว API ได้ถูกต้อง
โปรแกรมที่สื่อสารผ่าน ATM ได้จะมีข้อได้เปรียบหลายประการ ประการแรกคือโปรแกรมเมอร์สามารถ เขียนโปรแกรมที่ผสมผสานข้อมูล อักขระ ภาพ เสียง และวิดีโดไปด้วยกันได้ตามความต้องการ
โปรแกรมที่สนับสนุน ATM จะสื่อสารบนความแออัดของระบบเน็ตเวิร์กได้โดยปราศจากความล่าช้าโดย โปรแกรมรุ่นใหม่จะใช้ ATM เพื่อให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรงไม่จำเป็นต้องแมพไปยังไดร์ฟ โฟลเดอร์และระบบไฟล์ที่จำลองขึ้น
ทำไมเราถึงต้องการโปรแกรมรุ่นใหม่ที่สามารถสื่อสารแบบ ATM เหตุผลก็คือ ATM เป็น Connection Oriented protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลแบบที่มีการเชื่อมต่อกันโดยตรงโดยที่เฮดเดอร์ของเซล ATM ทุกๆเซลจะเก็บรายละเอียดของเส้นทางเอาไว้แล้ว ATM จะสร้างเส้นทางที่แน่นอนในการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องในการสื่อสารระหว่างกัน ต่างจากระบบเน็ตเวิร์กทั่วไปรวมถึง Ethernet ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกันโดยตรง คือคอมพิวเตอร์จะสื่อสารข้อมูลผ่านแพ็กเก็ตเล็กๆที่กระจายไปตามเน็ตเวิร์กเพื่อหาทางไปสู่ปลายทางอย่างอิสระ แทนที่จะกำหนดเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นมาโดยตรง ตัวเก็บรายละเอียดของเส้นทางเชื่อมโยงที่ประกอบอยู่ในเซลล์ ATM ทุกเซลทำหน้าที่เป็นตัวบอกถึงช่องทางการ เชื่อมโยงเสมือนที่เลือกกำหนดจากการเชื่อมโยงจะประกอบด้วยฟิลด์ย่อย 2 ฟิลด์ด้วยกันคือตัวกำหนดช่องทางเสมือน (VCI - Virtual Channel Identifier) และตัวกำหนดเส้นทางเสมือน(VPI -Virtual Path Identifier) ฟิลด์ CVI และ VPI จะช่วยกำหนดการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของ ATM ในการมัลติเพล็ก ดีมัลติเพล็ก รวมทั้งการสลับ ให้เซลข้อมูลส่งผ่านไปยังเน็ตเวิร์กตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม VCI และ VPI เป็นเพียงแค่ตัวจัดการเชื่อมโยงเท่านั้น ไม่ใช่แอดเดรสของข้อมูล ATM จะกำหนดค่าทั้งสองตัวนี้ในการเชื่อมโยงระหว่างโหนด ATM 2 โหนดหลังจากที่ โปรแกรมเซ็ตการเชื่อมโยงเข้าหากันเรียบร้อย และคงอยู่เฉพาะในระหว่างการรับส่งข้อมูลเท่านั้น ATM สามารถส่งข้อมูลเป็นสัญญาณหลายๆ สัญญาณได้พร้อมกันอย่างถูกต้องท่ามกลางการเชื่อมโยงมากมายโดยการติดตามค่า VCI และ ซึ่งใช้เป็นตัวแยกแยะบอกความแตกต่างของแต่ละช่องทางนั่นเอง VPI ซึงใช้เป็นตัวแยกแยะบอกความแตกต่างของแต่ละช่องทางนั่นเอง
จนถึงขณะนี้โปรโตคอลสื่อสารที่ใช้กั้นอยู่อย่าง IPX, NetBEUI และ TCP/IP และ API โปรโตคอลเหล่านี้ยังไม่รู้จัก VCI และ VPI โปรแกรมของคุณจึงยังไม่สามารถบอกระบบเน็ตเวิร์กถึงลำดับความสำคัญในการส่งข้อมูลหรือความกว้างของสัญญาณในการส่งได้ ในเวลาเดียวกันผู้ผลิตระบบปฏิบัติการบนเน็ตเวิร์กกำลังศึกษาหาหนทางแก้ไขปัญหานี้อยู่ บริษัทไมโครซอฟท์ และโนเวลล์ได้ประกาศแผนที่จะพัฒนาเลเยอร์จำลองสำหรับการสื่อสารแบบมีการเชื่อมต่อทางอุปกรณ์โดยตรงนี้ซึ่งจะสามารถใช้ส่งกระจายข้อมูลที่มีการกำหนดเส้นทางและบริการเพื่อให้แพ็กเก็ตสามารถเดินทางไปตามเส้นทางการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพื่อกำหนดขนาดของแพ็คเก็ตให้เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับสถาปัตยกรรมการใช้เซลของ ATM ทำได้ง่ายขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แต่สำหรับเวลานี้ Winsock 2.0, LANE และ IP บน ATM น่าจะจัดว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสุดเท่าที่มีอยู่
บริษัทไมโครซอฟท์ และอินเทลได้ร่วมกันพัฒนา Winsock 2.0 ขึ้นซึ่งซ็อกเก็ตบนวินโดว์สในเวอร์ชันนี้ได้พัฒนาให้ทำงานได้ดีกว่าเวอร์ชัน 1.1 ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยจะทำงานแบบ 32 บิตและเพื่อให้สอดคล้องกับเวอร์ชันเดิม Winsock 2.0 นี้จึงได้รวมเอาการเรียกใช้คำสั่ง Winsock มาตรฐานเดิมเอาไว้ เช่นการเชื่อมต่อเส้นทางสื่อสารข้อมูลการส่งและรับข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อดังกล่าวและการยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อเสร็จสิ้นการสื่อสาร เพื่อให้การทำงานเข้ามาตรฐาน ATM Winsock ได้ปรับปรุงในเรื่องคุณภาพของบริการซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถคัดเลือกระดับของการให้บริการสำหรับความกว้างของสัญญาณ และเวลาแฝง (latency) รวมถึงการใช้ความสามารถการจัดกลุ่มซ็อกเก็ตและการจัดลำดับความสำคัญในเวอร์ชัน 2.0 นี้ยังได้เพิ่มความสามารถในการส่งข้อความแบบมัลติแคสท์ (Multicast) และแบบมัลติพอยต์ (Multipoint) โดยไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของโปโตคอล
ใน Winsock 2.0 ฟังก์ชัน bind() และ WSPbind() จะใช้โครงสร้างข้อมูลแบบ sockaddr_atm ในการรีจิสเตอร์ Service Access Point(SAP) SAP คือจุดเชื่อต่อระหว่างโปรแกรมซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับซ็อกเก็ตโครงสร้างข้อมูลจะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับคำขอเส้นทางการเชื่อมโยงการรีจิสเตอร์ของ SAP จะช่วยให้ Winsock สามารถจับคู่การร้องขอ(request) เพื่อให้สร้างเส้นทางส่งผ่านข้อมูลที่มีเข้ามากับซ็อกเก็ตที่ยังว่างอยู่ก็ได้ สำหรับการเชื่อมต่อแบจุดต่อจุด (point to point) โครงสร้างข้อมูลแบบ sock addr_atm ยังอนุญาตให้คุณกำหนด SAP ปลายทางสำหรับการเรียกของโปรแกรมไปยังฟังก์ชัน connect(), WSA Connect() และ WSP Connect() ส่วนการเชื่อมโยงแบบหนึ่งจุดไปยังหลายๆจุดนั้น คุณจะต้องใช้โครงสร้างข้อมูลแบบเดียวกันในการเรียกไปยังฟังก์ชัน WSA JoinLeaf() โดยพื้นฐานแล้ว ข้อกำหนดคุณสมบัติของ Winsock 2 จะช่วยสนับสนุนการสร้างและยกเลิกเส้นทางการเชื่อมโยงของ ATM ทั้งแบบจุดต่อหลายจุด (point to multipoint) เพื่อจะจัดการกับการสื่อสารแบบ ATM ทีมพัฒนา Winsock2 ได้มีการนำแนวความคิดใหม่คือ การจัดกลุ่มซ็อกเก็ตมาใช้เพื่อให้โปรแกรมสามารถบอกกับตัวให้บริการพื้นฐานต่างๆ ที่มีอยู่เช่น dynamic library หรือไดรเวอร์อุปกรณ์ต่างๆ รู้ว่าซ็อกเก็ตทั้งหมดในกลุ่มๆ หนึ่งมีความเกี่ยวข้องกันและในกลุ่มซ็อกเก็ตนั้นมีแอตทริบิวท์ ATM บางตัวเหมือนกันแอทริบิวท์ ATM เหล่านี้จะประกอบด้วยรีเลทีฟไพรออริตี(relative priority) ของซ็อกเก็ตแต่ละตัวที่อยู่ในกลุ่ม เช่นเดียวกับคุณสมบัติ group quality of service ตัวอย่างเช่นแอพลิเคชันที่ทำงานอยู่กับคนละ ATM Nodes ที่ต้องการจะส่งผ่านแถวข้อมูลมัลติมีเดียระหว่างกัน สามารถเลือกกำหนดลำดับความสำคัญของข้อมูลได้โดยอาจเลือกให้ข้อมูลเสียงมีความสำคัญมากกว่าข้อมูลภาพก็กระทำได้ เพียงคุณใช้ฟังก์ชัน WSA Socket() และ WSA Accept() ในการสร้างหรือรวมกลุ่มซ็อกเก็ต และใช้ getsockopt() เรียกหมายเลขประจำกลุ่มซ็อกเก็ตกลับขึ้นมาใหม่ก็เป็นอันเสร็จพิธี Winsock มีข้อกำหนดคุณสมบัติที่ง่ายสำหรับการเขียนโปรแกรมเมื่อเทียบกับ API ตัวอื่น อย่างไรก็ตาม เราคงจะต้องรอข้อกำหนดคุณสมบัติที่จะใช้อย่างเป็นทางการจนถึงต้นปีหน้าเป็นอย่างช้า (ขณะนี้ปลายปี 2539) และต้องไม่ลืมว่า Winsock จะรันได้เฉพาะวินโดวส์เท่านั่น ดังนั้น หากโปรแกรมของคุณต้องการคุณสมบัติการทำงานข้ามแพลตฟอร์มเป็นสำคัญ คุณคงจะต้องมองหา API ตัวอื่นมาใช้ ในขณะที่ Winsock 2.0 ได้เสนอตัวเป็น API ตัวใหม่ที่สามารถสื่อสารแบบ ATM ได้ LANE (LAN Emulation) กลับเน้นไปที่การช่วยให้โปรแกรมที่มีอยู่แล้วสามารถรันบน ATM LANE มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการช่วยให้ ATM ทำหน้าที่เป็นแบ็คโบนของระบบ LAN สำหรับฮับ บริดจ์ สวิตชิงฮับ และเราท์เตอร์ทั้งแบบ Ethernet และ Token-ring จะกำหนดวิธีในการสื่อสารให้ข้อมูลสามารถไหลไปมาระหว่างเครื่องไคลเอนต์และไฟล์เซิร์ฟเวอร์ที่เป็น ATM โดยไม่จำเป็นต้องใช้เราท์เตอร์แยกต่างหาก การทำงานเช่นนี้เสมือนเป็นการซ่อนโหนดของ LAN ไว้ ดังนั้นทั้งไคลเอนต์และเซิรฟเวอร์สามารถสื่อสารกันด้วยโพรโตคอลที่เป็นแบบ ATM LANE แสดงให้เห็นคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการของ IEEE-802 LANs ได้แก่ การสื่อสารแบบไม่มีการเชื่อมต่อทางอุปกรณ์โดยตรง ข้อความแบบ บรอดแคสท์ มัลติแคสท์ และการกำหนดค่าแอดเดรสของ MAC ที่รันบนระบบเน็ตเวิร์กแบบ ATM ซึ่งมีลักษณะเป็นการเชื่อมโยงแบบมีการเชื่อมต่อทางอุปกรณ์โดยตรง การส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุด และมีแอดเดรสที่มีลักษณะคล้ายเบอร์โทรศัพท์ภายในระบบเน็ตเวิร์ก โปรโตคอลที่ใช้จำแนกแอดเดรสภายใน LANE จะหาค่าแอดเดรส ATM ที่สอดคล้องกับแอดเดรสของ MAC (ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์ก ATM โดยตรงหรือต่อเชื่อมผ่านระบบ Ethernet / Tockenring ก็ตาม) และจะสร้างวงจรเสมือนระหว่างจุดปลายทั้งสองจุดขึ้นสำหรับแพ็คเกตที่ส่งข้อมูลแบบ บอร์ดแคสท์ และมัลติแคสท์ ไปมาอยู่บนระบบเน็ตเวิร์กตามมาตรฐาน IEEE-802 แล้วเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของ LANE จะใช้วงจรแบบจุดต่อจุดสำหรับการนำข้อมูลเข้าและแบบจุดต่อหลายจุดสำหรับการส่งข้อมูลออก ข้อกำหนดคุณสมบัติของ LANE จะระบุรายละเอียดของรูปแบบแพ็คเก็ตและการห่อหุ้มแพ็คเก็ต(Encapsulation) ซึ่งจำเป็นสำหรับ ATM ในการหลอกให้ระบบมองว่าเป็นเลเยอร์ระดับ physical ตัวอื่น และยังใช้กำหนดวิธีอะแดปเตอร์ ATM ที่อยู่ในโฮสต์ สามารถแสดงอินเทอร์เฟซแบบลอจิคอลไปยังโปรโตคอล สแต็กให้กับ Ethernet หรือ Tocken-ring ในโฮสต์ นั้นอีกด้วย LANE อาจทำให้การต่อเชื่อมของระบบสื่อสารของคุณทำงานช้าลงเพราาะต้องทำงานอยู่บนเลเยอร์พิเศษของซอร์ฟแวร์ ส่วนในด้านข้อดีก็คือ การเขียนโปรแกรมกับ IPX, NetBIOS และ TCP/IP สามารถใช้งานกับLANE ได้เป็นอย่างดีและในปัจจุบัน LANE ก็ได้ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการแล้ว จากการทำงานร่วมกันระหว่าง Internet Engineering Task Force(IETF) และผู้ร่วมงานจากภายนอกทำให้ข้อตกลงมาตรฐาน RFC ล่าสุด2 ฉบับกำหนดให้ IP สามารถสื่อสารแบบ ATM ได้ข้อกำหนดคุณสมบัติของ IP บน ATM จะกล่าวถึงวิธีที่จะใส่เพ็กเก็ต IP และคำร้อง ARP ลงไปในหน่วยข้อมูลของโปรโตคอล โดยตรง และแปลงให้เป็นเซลล์ของ ATM ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะ IP จะไม่รู้จักโปรโตคอลแบบทั่วไปในเลเยอร์ MAC ตัวอย่างเช่นโปรโตคอลที่อยู่บนระบบเน็ตเวิร์กแบบ Ethernet RFC 1483 จะกำหนดส่วนประกอบต่างๆ ของ IP datagram ในขณะที่ RFC 1577 จะกำหนดวิธีการทำงานของกระบวนการจำแนกแอดเดรสในแบบ IP บนระบบ ATM มาตรฐานทั้งสองจะมอง ATM เสมือนเป็น Local LAN segments ที่จะทำหน้าที่ต่อโหนด IP และเราท์เตอร์ในระบบ LAN ที่ใช้ IP ปรกติไม่ได้สื่อสารกับ ATM สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการจำแนกแอดเดรส RFC 1577 ได้กำหนดซับเน็ต IP แบบลอจิคอล (LISes-Logical IP Subnets) เป็นโปรโตคอลที่สนับสนุน ATM แทนภายใน LIS แอดเดรส IP จะถูกจัดค่าให้ตรงกับแอดเดรส UNI 3.0 ของ ATM Forum ที่เป็นองค์กรกลางที่คอยดูแลมาตรฐานของ ATM สำหรับโปรแกรมเมอร์ที่จะเขียนโปรแกรม คุณต้องติดต่อกับ IP บน ATM ด้วย Socket - oriented API ที่ทำงานในลักษณะซ็อกเก็ตคล้ายกับการเรียกใช้ฟังชันมาตรฐานใน Winsock เวอร์ชัน 1.1 การเรียกใช้ฟังก์ชันเหล่านี้จะอนุญาตให้คุณเปิดซ็อกเก็ตเพื่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงเป็นแบบ TCP/IP ส่งและรับข้อมูลผ่านเส้นทางดังกล่าว และยกเลิกเส้นทางการต่อเชื่อมเมื่อเสร็จสิ้นการทำงาน IP บน ATM จะทำงานกับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ได้ดีกว่า LANE และสามารถจัดการกับการสื่อสารแบบยูนิแคสท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการส่งข้อมูล IP แบบมัลติแคสท์ ATM จะต้องกันช่องทางการรับส่งให้กับแพ็กเก็ตของ IP multicast เป็นพิเศษ เช่น การใส่เพ็กเก็ตแบบมัลติแคสท์ไว้ภายในแมสเซสบอร์ดแคสท์อีกต่อหนึ่ง อันเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติแคสท์ด้วย IP บน ATM จะด้อยกว่า LANE ปัจจุบันผู้ผลิตหลายรายก็ยังพยายามพัฒนาไดรเวอร์สำหรับ IP บน ATM กันอยู่ นั่นหมายความว่า คุณยังไม่สามารถใช้ IP บน ATM ได้ในขณะนี้ แต่เมื่อใดก็ตามที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เสร็จสมบูรณ์ และออกสู่ตลาด การเขียนโปรแกรมใช้งาน IP บน ATM ก็คงจะทำได้ง่ายไม่แพ้การเขียนโปรแกรมผ่าน Winsock เหมือนกัน เมื่อคุณตัดสินใจเลือกใช้ API ตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องตรึกตรองเพิ่มเติมคือเทคโนโลยี ATM ยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ ดังนั้นคุณควรจะมั่นใจก่อนว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่คุณติดต่ออยู่ด้วยสามารถจะจัดหาไดรเวอร์ให้กับวิธีการที่คุณเลือกใช้ได้ แม้การเขียนโปรแกรมบน ATM นั้นยังไม่สมบูรณ์นักในเวลานี้แต่จงมั่นใจเถิดว่าคุณได้เลือกเดินถูกทางแล้ว

----------------------------------------------------------------

จุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย ATM
              จุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย ATM ในตอนแรกนั้นเพื่อให้เป็นทั้งเทคโนโลยี LAN และ WAN ที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยแบนด์วิธสูง การเดินทางของข้อมูลผ่านเครือข่ายที่เร็ว (Low Latency) แต่การยอมรับในตลาดยังน้อยมากเมื่อเทียบกับเครือข่ายอีเธอร์เน็ต เหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้ไม่อยากเปลี่ยนมาใช้ ATM ก็เนื่องจากในช่วงนั้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีเครือข่ายเก่าที่เป็นแบบอีเธอร์เน็ตอยู่แล้ว การที่จะเปลี่ยนเทคโนโลยีก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ดังนั้นส่วนใหญ่จึงตัดสินใจใช้เทคโนโลยีที่ใช้อยู่แล้ว

----------------------------------------------------------------

ทำไมต้องเป็น ATM?
คุณพร้อมหรือยังสำหรับ ATM
ข้อมูลมัลติมีเดียทื่ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพยนตร์ ระบบไคลเอนต์ /เชิร์ฟเวอร์ที่มีการประมวลผล แบบกระจาย อยู่บนเน็ตเวิร์ก มีผลให้ผู้ดูแลระบบเน็ตเวร์กของปริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้งหลายนอนหลับกันไม่คอยสนิทนัก ด้วยเหตุคิดใม่ตก กับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลอันมากมายมหาศาลที่วิ่งไปมาอยู่บนเน็ตเวิร์ก การขยายช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดธ์ (BANDWIDTH)ในการส่งอาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ไม่ใช้การแก้ปัญหาถูกจุด เพราะความต้องการข้อมูลในเน็ตเวิร์กมีไม่ เท่ากัน ตัวอย่าง อิเล็กทรอนิกส์เมล์ (E-MAIL) ส่วนมาก หรือแม้แต่การโอนข้อมูลไฟล์ระหว่างระบบสามารถรอการรับส่ง ข้อมูลได้ในขณะที่ระบบมัลติมีเดียนั้นจำเป็นต้องมีการรับประกันอัตราเร็วในการส่งข้อมูลบนเน็ตเวิร์ก เนื่องจากข้อมูลมัล ติมีเดียไม่ว่าจะเป็น เสียง หรือภาพวิดีโอจำเป็นต้องแสดงผลได้อย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ โดยต้อง ไม่มีการชะงักจากการรอข้อมูลที่มักจะเกิดขึ้นกับการส่งข้อมูลแบบ STORE AND FORWARD ของเทคนิคแพ็กเกตสวิต ชิงทั่วไป ที่ไมีสามารถรับประกันอัตราเร็จในการส่งข้อมูลได้
ASYNCHRONOUS TRANSFER MODE เป็นระบบที่มีการรับประกันอัตราเร็วในการส่งข้อมูลในระดับที่ 1 กิกะบิตต่อวินาที (GBPS) ด้วยการส่งข้อมูลสูงในระดับนี้ จะช่วยให้มัลติมีเดียสามารถโลดแล่นบนเน็ตเวิร์กได้อย่างสม บูรณ์ นอกเหนีอจากที่กล่าวมาแล้ว ATM สามารถใช้รว่มกับเทคในโลยีในการส่งที่แตกต่างกันเน็ตเวิรก์เดียวกันได้ ไม่ว่าจะ เป็นเทคโนโลยี ETHERNET , FRAME RELAY หรือFIBER DISTRIBUTED DATA INTERFACE (FDDI) ซึ่งคุณ คุณสมบัติในส่วนนี้น่าสนใจมากสำหรับเน็ตเวิร์กในองค์กร
ถึงแม้จะมีคำมั่นสัญยาของผู้สนับสนุนระบบ ATM มาเป็นเวลานานปี จนแม้ในปัจจุบันปัญหาด้านมาตราฐานทิ่มี่ ในระยะแรกหลายปัญหา ได้ถูกแก้ไขลุล่วงไปแล้ว แต่ระบบ ATM ก็ยังคงจำกัดการใช้งานอยู่ในกลุ่มของผู้ให้บริการด้าน โทรคมนาคม ในการขยายแบนวิดธ์ของ แบ็คโบน ทื่(BACKBONE) เพื่อรองรับข้อมูลขนาดใหญที่รวบรวมข้อมูลเสียงไฟล์ และภาพยนต์ ให้อยู่ในเน็ตเดียวกัน ทำให้ผู้จัดการระบบเน็ตเวิร์กในองค์กรหลายองค์กรหลายคนตั้งคำถามว่า ระบบ ATM จะเข้ามีบทบาทในเน็ตเวิร์กของบริษัทจริง ๆ เสียที
สำหรับผู้จัดการระบบเน็ตเวิร์กที่ พร้อมสำหรับเทคโนโลยีล่าสุดผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ ๆ ของ ATM สำหรับ ใช้งานในระบบ LAN และ WAN จะมีออกมาอย่างต่อเนี่องตลอดปีนี้ การ์ดอะแดปเตอร์ 25.6 Mbps ราคาถูกไปจนถึง สวิตซ์ที่มีพอร์ตอีเทอร์เน็ตภายในสำหรับเชี่อมต่อระบบ LANS ที่ มีอยู่ อย่างไรก็ตาม ATM ยังคงต้องการบริษัทที่มีความ พร้อมปรับปรุงไปสู่เทคโนโลยีล่าสุดเช่นนี้ เมื่อถึงเวลานั้นเราคงจะได้เห็นว่า แอพพลิเคชันที่ทำงานบนฮาร์ดแวร์ ที่แตกต่าง กันได้อย่างดีบนโครงสร้างเน็ตเวิร์กพื้นฐานแบบ ATM ถ้าคุณไม่แน่ใจว่า คุณควรจะเป็นผู้บุกเบิกกับเน็ตเวิร์ก ATM และ วางแผนที่จะนำมาใช้ในระยะเวลาอันสั้นหรือไม่ หรือคุณควรจะรอเวลาอีกสักระยะ เพื่อให้แน่ใจใน ATM เสียก่อน แล้วค่อย ตัดสินใจอีกในอนาคต ลองพิจารณาคำถาม / คำตอบดังต่อไปนี้
ข้อ 1 :
ATM สามารถลอปัญหาคอขวดตรงขนาดแบนค์วิดธ์ที่ใช้ส่งข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้อยู่อย่าง LAN ประสพอยู่ และไม่สามารถจัดการได้ ได้อย่างไร ?
เทคโนโลยีสุดคลาสิกอย่าง LAN จะส่งผ่านข้อมูลแบบ STORE-AND-FORWARD ที่รับข้อมูลมาแล้วส่งผ่าน ต่อไปยังโหนดถัด ๆ ไปจนถึงเป้าหมาย ซึ่งเทคโนโลยีอย่างนี้จะไม่มีการสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลที่แน่นอน เรียกว่า CON- NECTIONLESS ROUTERS แล้วสงสัยไหมว่าเมื่อไม่มีการเช็ตอัพวงจรสำหรับการแลกเปลียนข้อมูลเช่นนี้แล้วข้อมูลจะส่ง ไปผู้รับได้อย่างไร การส่งข้อมูลเช่นนี้ ระบบจะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดที่จะส่งข้อมูลไปยังผู้รับเองโดยอัตโนมัติ นับว่าสะดวก และได้ผลดีในการส่งข้อมูลหลายลักษณะแต่ผลที่เกิดขึ้นก็คื่อเมื่อประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์กลดลง โดยอาจเกิดจากจำนวน ผู้ใช้และปริมาณข้อมูลที่เข้ามาในเน็ตเวิร์กก็ตาม แอพพลิเคชันทั้งหมดทั้งหมดรวมถึงแอพพลิเคชันที่กำลงทำงานอย่จะมีอัตรา เร็วลดลงไปด้วยตามกันไปหมด
ATM เป็นเทคโนโลยีแบบ CONNECTION -ORIENTED ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลอยู่แต่ต้นดังนั้น ATM สามารถสร้างวงจรเสมือน VIRTUALCIRCUIT ซึ่งจองแบนค์วิดธ์ของสัญญาณข้อมูลที่จะส่งสำหรับการติดต่อครั้ง นั้น ๆ จึงรับประกันได้ว่าขนาดช่องสัญญาณข้อมูลจะมีให้เพียงพอเสมอ สิ่งนี้ที่ แยก ATM ออกจากเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น FDDI หรื่อ FAST ETHERNET ซึ่งก็ใช้ในการติดต่อข้อมูลระดับบรอดแบนค์ ไปยังกลู่มผู้ใช้ที่เชื่อมโยงกันระยะไกลเหมือน กัน ด้วยการเช็ตวงจรเสมือน จะปกป้องแบนค์ที่ใช้ส่งข้อมูล ทำให้รับประกันได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งอย่างต่อเนื่องโดยไม่สดุด คุณสามารถใช้ ATM ในการควบคุมดูแลการจราจรของข้อมูลหลากหลายชนิดในเน็ตเวิร์กโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนกับเน็ตเวิร์ก ที่มีแบนค์สูงเกินความจำเป็นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย
ข้อ 2:
สมมุติว่าตัดสินใจเปลี่ยนไปเป็น ATM แล้วเราจะเริ่มการโอนย้ายจากเน็ตเวิร์กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างไร ก้าวแรกที่ดีที่สุดคื่อเริ่ม จากกลุ่มเฉพาะที่ต้องการใช้งานเน็ตเวิร์กความเร็วสูงอย่าง ATM เสียก่อน โดยเลือกจาก แผนกที่มีพฤติกรรมในการติดต่อสื่อสารกันด้วยข้อมูลมาก ๆ ในองค์กร เช่น แผนกวิศวกรรมออกแบบ โดยติดตั้ง LAN วงเล็ก ๆ ในรูปแบบของเวิร์กกรุป โดยติดตั้ง ATN ADAPTER CARD เพื่อเชื่อมต่อกันเองและอาจใช้ BRIDGE ช่วยเชื่อมต่อเข้ากับ LAN ของบริษัทอีกที่หนึ่ง
ข้อ 3 :
ระหว่างการโอนย้ายเน็ตเวิร์กมาสู่ ATM เราจะรวมระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างแพลตฟอร์ม ต่างโพรโตคอล ตลอดจน ตลอดจน โอเอสที่แตกต่างกันใช้งานอยู่แล้ว เราจะรวมเน็ตเวิร์กทั้งหมดเข้าด้วยกัน
การลดขนาดระบบ ( DOWNSIZING) การรวมระบบ เป็นธรรมชาติของการปรับปรุงเน็ตเวิร์กอยู่แล้ว ความต้อง การทั้งหมดนี้มีหมายความว่าผู้จัดการระบบเน็ตเวิร์กต้องรวมระบบ ATM กับเทคโนโลยีและโพรโตคอลต่าง ๆ กันที่มีอย่มากมาย ถูกใช้งานในโครงสร้างเน็ตเวิร์กที่สลับซับซ้อนขององค์กรนั้น
การรับประกันแบนด์วิดธ์ของ ATM เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะ CONNECTIONORIENTED ของ ATM นอก จากการที่สามารถจัดช่องสัญญาณสำหรับการจราจรที่แตกต่างกัน ( เสียงม ตัวอักษร หรือ วิดีโอ ) หรื่อแอพพลิเคชัน( ทำงาน ร่วมกันแบบเวิร์กกรุป หรื่อการประชุมผ่านวิดีโอ) วงจรเสมือนของ ATM ยังสามารถรับประกันว่าโพรโตคอลแต่ละตัวสามารถ ติดต่อเพื่อใช้ทรัพยากรของเน็ตเวิร์กแคโบนเพื่อบริการผู้ใช้งานได้อย่างทั่งถึง
ณ เวลาใดเวลาหนึ่งแต่ละโพรโตคอลก็จะสามารถเข้าถึงชองสัญญาณว่าง ๆ ที่มีอยู่ในแบ็คโบนได้เท่าเทียมกัน ผู้ผลิต ATM SWITCH ส่วนใหญ่มักจะขายการ์ดสำหรับโพรโตคอลเฉพาะโพรโตคอล (PROTOCOL- SPECIFIC- CARD) สามารถ เสียบเข้าในแบ็คโบนขององค์กร และทำงานภายใตระบบเน็ตเวิร์กแบบมัลติโพรโตคอล และยังช่วยรวมระบบคอมพิวเตอร์เข้าโทร- ศัพท์เป็น COMPUTER TELEPHONY INTEGRATION ( CTI) หรือ เป็นการทำลายกำแพงเทคโนโลยีที่กั้นระหว่างโทรศัพท์ และข้อมูลบนเน็ตเวิร์ก
ข้อ 4 :
ATM มีความเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อกันระหว่างคนงานที่อยู่ไกล (REMOTE WORKERS) กับ สำนักงานใหญ่ การเปลียนแปลงจากเทคโนโลยีแอนะล็อกมาเป็นเทดโนโลยีดิจิตอลของบริษัทโทรศัพท์หมายความว่า สวิสช์ของ ชุมสายโทรศัพท์จะเป็นดิจิตอล ระบบ ISDN อัตราพื้นฐานรองรับความเร็ว 64 KBPS ได้ถูกใช้งานแพร่หลาย และ เทคโนโลยี DIGITAL SUBSCRIBER LINE ( DSL ) อันใหม่จะช่วยยกคุณภาพของโทรศัพท์
ATM สามารถนำมาเชือมต่อแบบความเร็จสูงใช้งานบนโครงสร้างสายสัญาณที่เป็นลวดทองแดง ทีผ่านมามีบริษัท US WEST ได้ทดลองเพื่อ ดู ว่า DSL สามารถรองรับความเร็วข้อมูลระดับ 768 KBPS จนถึงระดับ 1.544 MBPS ขึ้นไป โดยใช้โมเด็ลระบบดิจิตอลได้หรือไม่แม้จะยังไม่มีการแจ้งผลลัพธ์ออกมาในขณะนี้ แต่การทดลองนี้ได้มีเทคโนโลยีใหม่เพื่อส่งข้อ มูลผ่านโทรศัพท์แบบปกติแบบ ดิจิตอล แล้วแอกเชส ATM BACKBONE CARIER บริษัทที่เชื่อมต่อเน็ตเวิร์กแบบบรอดแบนค์ จะสนับสนุนการติดต่อแบบ PEER-TO-PEER ระหว่างผ้ใช้แบบรีโมตที่ห่างไกลกับ LAN เหมือนกับการที่ผู้ใช้ติดต่อกันระหว่าง LAN กับ LAN นั้นเอง
ในระยะแรกเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อกันระหว่าง ( INTERCONNECTION ) DSL กับ ATM จะไม่สมมาตร (SYMMETRIC) กล่าวคื่อจะมีความแตกต่างในขนาดความจุอย่างมากระหว่างข้อมูลที่ไหลขึ้น (UPSTREAM) ไปยังระบบเน็ต เวิร์ก และข้อมูลที่ไหลลง (DOWNSTREAM) ไปยังเครื่องรีโมตพีซีทั้ง ๆ ที่ยังมีช่องสัญญาณมากเพี่องพอที่จะรองรับการสื่อ สารระหว่างเน็ตเวิร์กของบริษัทกับสาขาที่ห่างไกลออกไป เช่น ASYMMETRIC DIGITAL SUBSCRIBER LINE (ADSL) สามารถรองรับข้อมูล UPSTREAM ตั้งแต่ 64 - 640 KBPSขณะที่ส่งข้อมูล DOWNSTREAM ได้ถึง 1.5 - 6 MBPS
ข้อ 5 :
ในโลกธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ ที่บริษัทจำนวนไม่น้อยมีสาขาของบริษัทอยู่ทั่วโลก ATM จะเชื่อมโยงการปฏิบัติงาน ของสาขาต่าง ๆ ของบริษัทที่กระจาจอยู่ในนานาประเทศ
ไม่ว่าบริษัทคุณจะมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด แต่ถ้าต้องติดต่อกับลูกค้าหรือสาขาข้ามประเทศ ยังต้องเผชิญกับปัญหา ที่บางประเทศยังมีระบบโทรศัพท์แบบพื้นฐานเท่านั้นแล้วจะสามารถเน็ตเวิร์กแบบ ATM
กลวิธีของเราก็คือใช้ ATM ผ่านข่ายดาวเทียม การใช้งานข้ามประเทศ บริษัท COMSAT WORLD SYSTEMS จะเสนอบริการ ATM แบบ TWO - TIERED ที่จะมีการจัดหาแบนค์วิดธ์ ขนาดกลาง และ สูง เพื่อในบริการแก่ลูกค้าที่ต้องการ เน็ตเวิร์กข้ามประเทศและ COMMON CARRIERS บริการบางส่วนจะใช้ VERY SMALL APERTURE TERMINALS (VSATS) สถานีสื่อสารดาวเทียมภาคพื้นดินที่สามารถติดต่อกับดาวเทียม ในระบบอินเทลแซท INTELSAT) ด้วยอัตราส่งผ่าน ข้อมูลในระดับความเร็วสูง
การรวม ATM เข้ากับระบบเน็ตเวิร์ก VSAT ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ในสถานที่ที่ห่างไกลสามารถแลกเปลียนข้อมูลมัลติมีเดีย จำนวนมหาศาลกับเน็ตเวิร์กบนพื้นดินแบบเรียลไทม์ (REAL-RIME) เพื่อเรียกใช้งานแอพพลิเคชันของบริษัท ปัจจุบันโครงการ ATM RESEARCH AND INDUSTRIAL ENTERPRISE STUDY (ARIES) ดำเนินการโดย AMERICAN PRTEOLEUM INSTITUTE กำลังค้นคว้าวิจัยเน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงระหว่างสถานีภาคพื้นและดาวเทียมไว้ด้วยกันแบบ ATM ในการสำรวจนำมัน
ปัจจุบันการพัฒนา ATM ในเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่มักเป็นงานของการสื่อสารองค์โทรศัพท์ และ ผ้ให้บริการอินเทอร์ เน็ตที่ต้องการให้บริการในวงกว้างข้ามโครงสร้างพื้นฐานของเน็ตเวิร์กหนึ่ง ๆ ถ้าองค์กรของคุณต้องการช่องสัญญาณขนาด ใหญและการรับประกันขนาดช่องสัญญาณคุณก็อาจจะตัดสินใจเลือกใช้ ATM ซึ่งจะทำให้องค์กรของคุณเป็น ผู้นำด้านเทดโน- โลยีเน็ตเวิร์กโดยปริยายหรือถ้าคุณยังไม่มีความจำเป็นอาจเป็นการดีทีจะรอประมาณ 2 ถึง 4 ปี ก่อนที่คุณเลิกใช้เน็ตเวิร์กปัจจุบัน ของคุณ และ เริ่มวางระบบเน็ตเวิร์ก ATM สำหรับองค์กรของคุณเสียใหม่เลย!

----------------------------------------------------------------

 

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 17,387 Today: 10 PageView/Month: 18

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...